วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Multimedia เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การพูด อ่าน เขียน

(วันที่ 18 สิงหาคม 2558)


วันที่ 18 สิงหาคม 2558 จัดโดยงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ดร.ศิริชัย นามบุรี และนายธนภัทร นาคิน (วิทยากร)


มัลติมีเดีย

          ความหมายของมัลติมีเดีย
มัลติ” (Multi) หมายถึง หลายๆ อย่างผสมรวมกัน (ซึ่งมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Many,Much และ Multiple)
“มีเดีย” (Media) หมายถึง สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
“มัลติมีเดีย” จึงหมายถึง “การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน 
          องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
               1. ตัวอักษร (Text)
               2. ภาพนิ่ง (Still Image)
               3. ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation)
               4. เสียง (Sound)
               5. วิดีโอ (Video) 
          โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

          Multimedia กับการเรียนรู้



1.    สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
1.1) เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
1.2) ผู้รับข้อมูลมักจะเป็นกลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
1.3) มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อ ประกอบการตัดสินใจ                 
1.4) เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่เน้นการตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
1.5) โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
2.    สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.1) เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
2.2) ผู้รับข้อมูลใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
2.3) มีวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ                       และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างเนื้อหา
2.4) รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้ โดยประยุกต์                         ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
2.5) โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียน เป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
2.6) การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ

ทักษะการคิด


  คิด หมายความว่า ทำให้ปรากฏเป็นรูป หรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ  ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดะคะเน คำนวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ (ราชบัณฑิตยสถาน.2546:251)
  ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่สลับซับซ้อน  ทักษะการคิดอาจจัดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
1. ทักษะพื้นฐาน (basic skills)  ได้แก่  ทักษะการสื่อความหมาย (communication skills)
ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (core or general thinking skills)
2. ทักษะการคิดขั้นสูง หรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน (higher order or more complexed   thinking skills)
  ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (core or general thinking skills) หมายถึง  ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานของการคิดขั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งคนเราจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

ทักษะการพูด





          ความหมายของการพูด
  การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์  เป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และอากัปกิริยา จนเป็นที่เข้าใจกันได้ภาพเกิดจากการสังเกตวิธีการที่ดีและมีโอกาสฝึกฝน

         ประเภทของการพูดแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  1. การพูดระหว่างบุคคล
     หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  แสดงอาการยินดีที่ได้พบผู้ที่เราทักทายการทักทายปราศรัย  ลักษณะการทักทายปราศรัยที่ดีดังนี้ กล่าวคำปฏิสันถารที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม  เช่น สวัสดีครับ  สวัสดีคะ แสดงกิริยาอาการประกอบคำปฏิสันถาร ข้อความที่ใช้ประกอบการทักทายควรเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความสบายใจ การแนะนำตนเอง  การแนะนำเป็นสิ่งจำเป็น และมีความในการดำเนินชีวิตประจำวัน  บุคคลอาจแนะนำตนเองในหลายโอกาสด้วยกัน การแนะนำตนเองมีหลักปฏิบัติดังนี้คือ  ต้องบอกชื่อ   นามสกุล  บอกรายละเอียดกับตัวเรา และบอกวัตถุประสงค์ในการแนะนำตัว
    2.   การพูดในกลุ่ม
การพูดในกลุ่มเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน  ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษาเป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม  แสดงความคิดเห็น  หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน  มีวิธีการดังต่อไปนี้
- เล่าถึงเนื้อหาและประเด็นประเด็นสำคัญ ๆ  ว่ามีอะไรบ้าง
- ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่ง่าย
- น้ำเสียงชัดเจนน่าฟัง  เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ  
- ใช้กิริยาท่าทางประกอบการเล่าเรื่องตามความเหมาะสม
- ผู้เล่าเรื่อควรจำเรื่องไดเป็นอย่างดี
- มีการสรุปข้อคิดในตอนท้าย

ทักษะการอ่าน




ความหมายของการอ่าน
  การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

         วามสำคัญของการอ่าน
  ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้าง หน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคน เข้าด้วยกัน สามารถทำทั้งการพบปะสื่อสารกันด้วยการสนทนาและอ่านข้อเขียนของกันและกัน สำหรับสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมใหญ่ที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดต่อกันโดยวิธีพบปะสนทนาย่อมเป็นไปได้ในวงจำกัด ดังนั้นการสื่อสารกันโดยการอ่านจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนั้นผู้อ่านจำนวนมากยังต้องการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิง  จากหนังสืออีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการอ่าน
1.       การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.       การอ่านเพื่อความบันเทิง
3.       การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการ

ประโยชน์ของการอ่าน
1.       ทำให้มีความรู้ในวิชาการด้านต่างๆ อาจเป็นความรู้ทั่วไป หรือความรู้เฉพาะด้านก็ได้ 
2.       ทำให้รอบรู้ทันโลก ทันเหตุการณ์
3.       ทำให้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้
4.       ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน คลายความตึงเครียด ได้ข้อคิด และยังเป็นการยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
5.       ทำให้เกิดทักษะและพัฒนาการในการอ่าน
6.       ทำให้ชีวิตมีพัฒนาการเป็นชีวิตที่สมบูรณ์

ทักษะการเขียน



          ความหมายของการเขียน
  การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษษเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด
  การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน

          หลักการเขียน
  เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้
1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน
5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น

เอกสารประกอบการอบรม

Multimedia เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การพูด อ่าน เขียน

าพบรรยากาศในการอบรม












การใช้ไอซีทีเพื่อการเรียรู้ในศตวรรษที่21

(วันที่ 17 สิงหาคม 2558)



1. MIAP 
ประกอบด้วย
         Motivation   คือ การกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าบทเรียน อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ การใช้คำถามนำ การแสดง หรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้ผู้เข้าเรียนรู้สึก 
         Information คือ ขั้นตอนนนี้จะเป็นการให้เนื้อหากับผู้เข้าอบรม เป็นขั้นตอนของสาระ เนื้อหา รายละเอียด และความรู้ต่างๆ จะอยู่ในช่วงนี้
         Aplication    คือ ขั้นตอนที่ต้องการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ให้อธิบายให้ฟัง หรือให้แสดงให้ดู ให้ปฏิบัติจริง
         Progress     คือ ขั้นตอนนี้ก็จะต่อเนื่องกับช่วง Aplication เราก็จะนำเอาผลของการสอบ การปฏิบัติมาทำการตรวจสอบว่าผ่านตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 

2. Flipped Classroom
           เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนโดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการบ้านที่ได้รับผ่านการเรียนด้วยตนเองจากสื่อวิดีทัศน์( Video )นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียนในชั้นเรียนปกตินั้นจะเป็นการเรียนแบบสืบค้นหาความรู้ที่ได้รับร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยมี ครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือชี้แนะ

3. Blended leaning 
            หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน
             การเรียนแบบผสมผสาน สามารถนำมาสรุปได้เป็น มิติ คือ การผสมผสานการสอนผ่านสื่อการสอน การผสมผสานวิธีการเรียนการสอน และการผสมผสานระหว่างการสอนแบบเผชิญหน้ากับการสอนออนไลน์

4. การเรียนรู้จินตวิศวกรรม
ประกอบด้วย
            
จินตนาการ
            
ออกแบบ
            
พัฒนา
            
นำเสนอ
            
ปรับปรุง
            
ประเมิณผล

5. PJBLประกอบด้วย
            
การเตรียมความพร้อม
            
การกำหนดและเลือกหัวข้อ
            
การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
            
การปฏิบัติโครงงาน
            
การนำเสนอผลงาน
            
การประเมิณผล


เอกสารประกอบการอบรม

ภาพบรรยากาศการอบรม